วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ตรวจรับมอบบ้านก่อนเข้าอยู่

สำหรับท่านใดที่กำลังอยู่ในช่วงของการสร้างบ้านกับบริษัทรับสร้างบ้าน / บ้านโครงการ ต่างๆ สิ่งสำคัญก่อนการรับมอบคือการตรวจสอบเพื่อความแน่ใจ อย่าลืมกันเชียวนะคะ ซึ่งวันนี้เรานำแนวทางในการตรวจรับบ้านก่อนส่งมอบเพื่อเป็นความรู้ดีๆมาฝากกันค่ะ ซึ่งสามารถตรวจความเรียบร้อยในการรับสร้างบ้านก่อนเข้าอยู่เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย ตามนี้เลยยยย




  • ตรวจประตู หน้าต่าง บานเกร็ด ว่าติดตั้งเรียบร้อยหรือไม่ สามารถเปิดปิด ล็อคได้ปกติมั้ย รวมทั้งการตรวจสอบ ลูกบิด มือจับ กลอน กุญแจ ว่าใช้งานได้ดีและไม่เป็นสนิม

  • ตรวจเช็คพื้นบ้าน โดยเฉพาะระหว่างจุดเชื่อมต่อระหว่างวัสดุ เช่น พื้นปูนกับขอบไม้ ปาร์เกต์ อาจจำเป็นต้องลองเดินดูให้ทั่วๆ ว่ามีส่วนใดติดตั้งไม่เรียบร้อยหรือไม่

  • ตรวจเช็คผนัง ความเรียบร้อยของการทาสี ปูนฉาบผนัง หากมีตำหนิ หรือปัญหาจุดใด ให้ใช้ชอล์คทำสัญลักษณ์ไว้

  • ตรวจเช็คเพดาน ทุกห้องชั้นบน ดูว่ามีรอยรั่วจากหลังคาหรือไม่ ตรงส่วนนี้อาจตรวจสอบได้ยากกว่าส่วนอื่นๆ เพราะมักจะเจอปัญหาก็เมื่อฝนตกลงมาจริงๆ

  • ตรวจเช็คระบบไฟฟ้า ทำการเปิดไฟทุกดวงในบ้าน เช็คว่าสามารถเปิดปิด ได้ปกติทุกดวงหรือไม่ และใช้ไขควงในการตรวจสอบปลั๊กไฟทุกจุด ว่าไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่ เมื่อตรวจเช็คด้วยการเปิดปิดไฟเสร็จแล้ว ต่อมาให้ทำการปิดให้ และทำการเช็คมาตรวัดไฟ ว่ายังหมุนหรือไม่ หากทำการปิดสวิทต์หมดแล้ว แต่ยังหมุนอยู่ ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน อาจมีส่วนที่ไฟรั่ว ซึ่งส่งผลให้ค่าไฟฟ้าบานปลายในอนาคตได้

  • ตรวจเช็คระบบน้ำ ทำการทดสอบเปิดก๊อกน้ำทุกจุด และปิดให้หมดทุกจุด จากนั้นทำการตรวจเช็คที่มาตรวัดน้ำ ว่ายังหมุนหรือหยุดนิ่ง หากยังหมุนปกติ นั่นอาจหมายถึงระบบท่อภายในบ้านแตกรั่วได้

  • ตรวจสอบพื้น ในตำแหน่งที่ต้องรองรับน้ำ เช่น ห้องน้ำ ระเบียงบ้าน ลานซักล้าง หรือจุดอื่นๆ ทำการเทน้ำราดลงพื้น แล้วสังเกตว่า น้ำไหลปกติไม่ท่วมขังหรือไม่

  • ตรวจสอบความเรียบร้อยของห้องน้ำ ตรวจสอบรอยคราบ มีส่วนที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้หรือไม่ ตรวจดูการปูพื้นและบุผนัง ว่ามีรอยบิ่นหรือแตกหักหรือไม่

  • ตรวจสอบรอยร้าวบนผนัง สังเกตให้ดีก่อนว่า เป็นรอยร้าวที่สามารถแก้ไขได้หรือไม่ รอยร้าวปกติจะมี 2 แบบ นั่นคือรอยร้าวจากการก่ออิฐที่ไม่ได้คุณภาพ รอยร้าวจากการฉาบปูนไม่เกาะกับอิฐ รอยร้าวจำพวกนี้ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียมากนัก สามารถซ่อมเพิ่มเติมได้อย่างสะดวก

  • ส่วนรอยร้าวอีกประเภท ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายรวมถึงอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย คือ รอยร้าวที่เกิดจากโครงสร้าง ราฐาน เสา คาน และพื้นบ้าน ซึ่งเกิดจากการออกแบบที่ผิดพลาด ก่อสร้างบกพร่อง เกิดการทรุดตัวที่ต่างกันของโครงสร้าง หรือเกิดจากปัญหาอื่นๆ หากพบรอยร้าวประเภทดังกล่าว ควรให้วิศวกรรมตรวจสอบ มาตรวจดูอีกครั้ง

ขอบคุณข้อมูล : Rukbann

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น